รีวิวหนัง The Passion of Joan of Arc ความหลงใหลของโจนออฟอาร์ค
วันนี้มีเรื่องอยากเขียนมากๆเรื่องนึง เพราะมันเป็นวันครบรอบ92 ปี ของภาพยนตร์เงียบที่เราชอบมากๆ และถือเป็นตำนานเก่าแก่ของวงการเรื่องนึง กับเรื่องราวคลาสสิคของ Trial of Joan of Arc ที่ถูกถ่ายทอดด้วย1ในภาพยนตร์ที่ถูกยอมรับว่าอยู่ในจุดสูงสุดแห่งศาสตร์การแสดง ผลงานของนักแสดงอย่าง Renée Jeanne Falconetti หนังเรื่องแรกและสุดท้ายของเธอ ที่เคยถูกกล่าวขานไว้ว่า
“เราไม่อาจจะเข้าใจศาสตร์แห่งหนังเงียบได้เลยถ้ายังไม่เคยเห็นสีหน้าของ เรเน่ ใน La Passion de Jeanne d’Arc (หรือ The Passion of Joan of Arc)
ในสื่อที่ไร้ซึ่งเสียง ในสถานที่และช่วงเวลาที่ผู้กำกับได้แต่เชื่อมั่นในสิ่งที่นักแสดงถ่ายทอดออกมาจากสีหน้าเท่านั้น และเมื่อได้เห็นใบหน้าของ เรเน่ ในหนังเรื่องนี้แล้ว ดวงตาแห่งความเจ็บปวดคู่นั้นจะยังอยู่กับผมไปตราบนานเท่านาน”
Roger Ebert
แต่กระนั้น ความพิเศษของหนังเรื่องนี้ไม่ได้จบแค่เพียงความยอดเยี่ยมในแง่ศาสตร์ภาพยนตร์ของมันเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงเรื่องราวเบื้องหลังของหนังเรื่องนี้ที่ต้องบอกว่าราวกับตำนานชัยชนะสงคราม100ปีแห่งโจน ออฟ อาร์คได้เข้ามาสถิตอยู่ในม้วนฟิล์มอาถรรพ์ที่มีจุดจบไม่ได้ต่างจากเรื่องราวเมื่อ600ปีก่อนหน้านี้เลยทีเดียว
ซึ่งการที่เราจะเข้าใจความอาถรรพ์ของภาพยนตร์อายุเกือบร้อยปีนี้ได้ เราต้องพาคนอ่านย้อนกลับไปเมื่อ100ปีก่อนในช่วงที่หนังฟรั่งเศสกำลังอยู่ในยุคปฎิวัติวงการภาพยนตร์ให้กลับมายิ่งใหญ่อีกครั้งหลังจากวิกฤติการซบเซาเพราะสงครามโลกครั้งที่1 (1914-1918)
ซึ่งในปี 1925 นั้นเองได้มีผู้กำกับชาวเดนิชมากฝีมือที่เพิ่งจะประสบความสำเร็จจากภาพยนตร์เงียบเรื่อง Master of the House ซึ่งเป็นภาพยนตร์เสียดสีสังคมอันโด่งดังของเดนมาร์ก โดย Carl Theodor Dreyer ผู้กำกับหนุ่มหน้าใหม่ไฟแรงที่ภายหลังจะถูกยกย่องว่าเป็น1ในที่สุดของวงการ ซึ่งในตอนนั้นเขาถูกคัดเลือกจากสมาพันธ์หนังฟรั่งเศส(Société Gėnėrale des Films) ให้มาช่วยกำกับ/พัฒนาวงการหนังฝรั่งเศส โดนมีทุนสร้างมหาศาลให้ ซึ่งมีหนังที่ถูกตั้งไว้ให้เลือกกำกับอยู่ 3เรื่อง ล้วนเป็นเรื่องราวตำนานของฟรั่งเศส ทั้ง Marie Antoinette, Catherine de Medici และ Jeanne d’Arc ซึ่งตัวผู้กำกับอย่าง Dreyer นั้นตัดสินใจเลือกด้วยการ “จับฉลาก”
อย่างไรก็ตามเรื่องน่าแปลกอย่างนึงก็เรื่องราวของ โจนออฟอาร์ค นั้นแม้จะเป็นเรื่องราวที่มีเกิดขึ้นนานมาแล้วกกว่า600ปี แต่กลับเพิ่งจะเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางช่วงสงครามโลกครั้งที่1เท่านั้น เนื่องจากคริสตจักรของฟรั่งเศสในปี1920ได้มีการแต่งตั้งย้อนหลังให้เธอได้เป็นนักบุญ หลังจากมีการมีการซักทอดประวัติศาสตร์ย้อนหลังและได้รับรู้ถึงชะตากรรมของเธอ การทรมานในคุกกว่า18เดือนก่อนจะเผาทั้งเป็นหลังถูกใช้เป็นสัญลักษณ์ของสงครามจนพอแล้ว ว่ากับว่าเป็นเพราะผู้คนเริ่มจะศรัทธาเธอมากเกินกว่าจะควบคุมจึงโดนใส่ร้ายและประหารในที่สุด
บันทึกการพิพากษา Joan of Arc นี้ได้ถูกเผยแพร่ ตีพิมพ์สู่สาธารณะเมื่อปี 1921 โดยนักประวัติศาสตร์ Pierre Champion ที่ Dreyer ได้จ้างให้เป็นที่ปรึกษาของหนังด้วย ซึ่งนั่นทำให้ Dreyer เลือกที่จะฉีกบทเก่าที่พูดถึงเรื่องราวในสนามรบของเธอทิ้งและวางเรื่องราวให้อยู่ในช่วงพิจารณาคดีของโจนแทน ( Trial of joan of arc)
.
อย่างไรก็ตามความน่าสนใจของตัวหนังนั้นตามมาหลังจากนี้ เพราะนี้คือ1ในภาพยนตร์ที่มีการแสดงสมจริงที่สุด เพราะการ set ฉากที่สมจริงจนเกินเหตุของ Dreyer ที่แทบจะเรียกทั้งของฉากที่ต้องละเอียดละออที่สุด และการเตรียมตัวนักแสดงที่บอกได้ว่าทารุน เพราะหลังจากที่เขาได้แคสนักแสดงมากฝีมืออย่าง Renée Jeanne Falconetti เพราะหลงใหลในใบหน้าสดที่ดูทุกข์ทรมานของเธอ ในทุกฉากที่เธอต้องแสดงความเศร้าจากการโดนทรมานในหนังนั้น มันเป็นเพราะเขาทรมานเธอจริงๆ เช่นการสาดน้ำร้อนใส่ หนือการให้นั่งคุกเขาหลายชั่วโมง ถ่ายฉากซ้ำๆจนเธอไร้เรี่ยวแรง ซึ่งบอกได้เลยว่าคงเป็นวิธีที่ไม่สามารถใช้ได้อีกแล้วในปุจจุบัน และทำให้หนังเรื่องนี้เป็นเรื่องแรกและสุดท้ายที่เธอยอมแสดงเช่นกัน และตัวหนังเองแม้จะถูกยกย่องตั้งแต่ถูกออกฉายว่าเป็น masterpiece จากทั้งนักวิจารณ์เดนมาร์กและฝรั่งเศส แต่มันกลับเป็นหนังที่ล้มเหลวด้านรายได้จนสมาพันธ์หนังฝรั่งเศสได้ยกเลิกสัญญาที่เหลือของ Dreyer ทั้งหมด
แต่ประเด็นของโพสนี้อยู่หลังจากนี้ เพราะหลังจากการถ่ายทำที่สุดโหดและอัจฉริยะภาพทางการแสดงของเรเน่ รวมถึงเทคนิคภาพ close up ที่ยังคงเป็นตำนาน Dreyer กับเรื่องราวที่อันจริงแท้ของโจนออฟอาร์ค หญิงที่ถูกพระเจ้าหักหลังและต้องผ่านการทรมาณนานนับปีและจบชีวิตลงในกองไฟก็ได้ออกฉายในปี 1928
ซึ่งนั่นมาถึงจุดที่ทำให้หนังเรื่องนี้น่าสนใจและกลายเป็นตำนานนอกจอ ก็คือ “มันเป็นหนังที่ไม่เคยถูกฉายจริงๆ” อาจจะงงว่า ไม่เคยถูกฉายจริงนั้นแปลว่าอะไร ในเมื่อมันมีปีบอกอยู่ว่าฉายในวันนี้เมื่อ92ปีที่แล้ว หรือ 21 เมษา 1928
อย่างไรก็ตามเวอชั่นที่ถูกฉายในปีนั้นเป็นเวอชั่นที่ถูกตัดใหม่ทั้งหมดตามคำสั่งของ อาร์คบิชอปและรัฐบาลฝรั่งเศส จากข้อครหาของฝ่ายชาตินิยมของคนฝรั่งเศสที่ไม่ต้องการให้คนนอกประเทศมากำกับเรื่องราวของโจนออฟอาร์ค ซึ่งทำให้ Dreyer โมโหอย่างมาก อย่างไรก็ตามตัวหนังเวอชั่นจริงนั้นยังถูกเก็บไว้อย่างดีหลายก็อปปี้และรอวันที่มันจะได้ถูกนำกลับมาฉายใหม่อีกครั้งในสักวัน….แต่
มันกลับถูกพบว่าใหม้ลงเป็นเถ้าถ่านในช่วงปลายปีเดียวกัน ราวกับเป็นการลงโทษให้กับความโหดร้ายและการทรมานที่ถูกสร้างขึ้นมาใหม่ในหนังที่น่าเศร้าแต่ทรงพลังนี้
Dreyer พยายามรวบรวมซากที่ยังเหลืออยู่ของมันให้รวมกันเป็นผลงานที่เขายังสามารถภูมิใจว่าเป็นผลงานชิ้นเอกได้อีกครั้ง ในเวอชั่นที่2ของ THE PASSION OF JOAN OF ARC …
ก่อนที่มันจะถูกเผาทั้งเป็นอีกครั้งนึงในปีถัดมา มีเพียงก๊อปปี้บางส่วนที่เหลือรอดมาได้อย่างสะบักสะบอมเต็มไปด้วยม้วนที่ถูกไฟเผาจนขาดหายไปหลายฉาก
อย่างไรก็ดีมันยังถูกนำมาฉายใหม่ในปี1933โดยการตัดใหม่ของเวอชั่นที่ฉายในฟรั่งเศส ซึ่งมีการบรรยายทับ และในปี1951 ซึ่งมีคนที่ได้พบซากของเวอชั่นที่2ที่ถูกเผาทำลายไปและได้นำกลับมาตัดต่อใหม่อีกครั้งโดย Joseph-Marie Lo Duca โดยในเวอชั่นนี้มีความแตกต่างจากเวอชั่นแรกโดยสิ้นเชิงและยังมีเพลงประกอบที่ใส่เข้ามาใหม่อีกด้วย ซึ่งทั้ง2เวอชั่นนั้นก็ไม่ได้รับการยอมรับโดย Dreyer ทั้งคู่
อย่างไรก็ตามที่บอกว่ามันไม่เคยถูกฉายนั้นก็ไม่ใช่ซะทีเดียว เมื่อในปี 1981 ตัวหนังเวอชั่นแรกที่สูญหายและถูกทำลายไปนานนับทศวรรษ กลับถูกค้นพบโดยบังเอิญในสถานที่ซึ่งมันไม่น่าจะไปอยู่ได้ โดยพนักงานทำความสะอาดของโรงพยาบาลจิตเวชแห่งนึงในเมือง Oslo ประเทศนอร์เวย์ ซึ่งพบมันถูกวางทิ้งไว้ในตู้เสื้อผ้าของคนงาน ซึ่งสภาพของมันเป็นม้วนฟิล์มเก่าๆจพนวนมากที่1ในนั้นคือ ภาพยนตร์เวอชั่นแรกของ The Passion of Joan of Arc
โดยที่ภายหลังได้มีการวิเคราะห์กันว่ามันถูกส่งมาจากตัวผู้กำกับเอง โดยคำขอของนักประวัติศาสตร์คนนึงซึ่งเคยทำงานเป็นผู้คุมสถาบันจิตเวชแห่งนี้ในเวลานั้น และได้ช่วยให้โจนออฟอาร์คของ Dreyer กลับมามีชีวิตอีกครั้งในที่สุด
โดยสรุปแล้ว The passion of joan of arc นั้นเป็นภาพยนตร์ที่มีเบื้องหลังเต็มไปด้วยความโหดร้าย,พรสวรรค์และความทะเยอทะยานที่บ้าคลั่งอันเป็นบ่อเกิดของผลงานที่แทบจะก้าวข้ามความ realism ของภาพยนตร์และฝาก1ในผลงานที่ยอดเยี่ยมที่สุดของมนุษย์ชาติไว้ผ่านสายตาอันเจ็บปวดและเศร้าหมองของ Renée Jeanne Falconetti
และอีก1ในปัจจัยความสำเร็จนั้นคงต้องยอมรับว่าอาจจะเป็นความดื้อรั้นของ Carl Theodor Dreyer ผู้ซึ่งไม่ได้มีเป้าหมายอื่นได้นอกจากคืนชีพให้กับวีรสัตรีแห่งอาร์ค ผู้ซึ่งฝากตำนานแห่งกองไฟไว้กับจุดจบของชีวิตเธอ รวมถึงภาพยนตร์แห่งความทะเยอทะยานของเธอด้วยเช่นกัน
“มันมีบางอย่างในตัวเธอที่ผมสัมผัสได้ ที่ถูกนำออกมาได้ บางอย่างที่เธอให้ได้ บางอย่างที่ผมควรได้ เบื้องหลังฉากหน้าที่สวยงามนั้น ผมเห็นไฟแห่งจิตวิญญาณที่กำลังเผาไหม้ทุกอย่างให้เป็นจุล และในขณะเดียวกันก็เห็นผู้หญิงคนนึง ที่ดูทุกข์ทรมานเหลือเกิน”